Chapter 9
สรุปบทที่ 9
สถาปัตยกรรมของระบบแบบกระจาย
สถาปัตยกรรมแบบ Client-server เป็นการกระจายบริการซึ่งถูกเรียกใช้โดย เครื่องลูก (Client)
จากเครื่องแม่ข่าย (Server) ในที่นี้จะใช้ทับศัพท์คือ Client และ Server
สถาปัตยกรรมการกระจาย.
Middleware คือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการ และสนับสนุน Components ของระบบแบบ
กระจาย โดยทัวไปจะเป็นซอฟต์แวร์ที่ต้องจัดซื้อ จัดหา เพิ่มเติมจากระบบที่จะพัฒนา
ตัวอย่าง เช่น การแสดงการประมวลผลข้อมูล การแปลงข้อมูล (Data converters) หรือ การ
ควบคุมการสื่อสาร เป็นต้น
สถาปัตยกรรมแบบ (Multiprocessor) เป็นระบบที่ใช้หลายๆหน่วยประมวลผลทํางานพร้อมๆกัน
ในหลายๆงาน เป็นระบบที่มความซับซ้อนน้อยที่สุด เพราะไม่ต้องอาศัยเครือข่ายใดๆ
สถาปัตยกรรมแบบ Client-server มีการทํางาน Application และ Presentation ที่เครื่องไคลเอนต์
สถาปัตยกรรมของการทํางานมี 3 ชั้นคือ
• Presentation layer : เป็นชั้นที่ใช้ในการนําเสนอผล และการนําข้อมูลเข้าสู่ระบบ
• Application processing layer : เป็นการชั้นที่มีการประมวลผลตามคําสั่งในโปรแกรม
• Data management layer : เป็นชั้นที่ใช้บริหาร จัดการข้อมูล
แสดงภาพสถาปัตยกรรมแบบกระจาย
สถาปัตยกรรมแบบ Thin และ Fat Clients
Thin-client model: เป็นระบบที่ให้ client มีการประมวลผลน้อยที่สุด โดยการใช้เพียงแค่
browser ซึ่งทําหน้าที่แสดงผล (Presentation) เท่านั้น การประมวลผลส่วนใหญ่จะอยู่ที่เครื่องแม่
ข่าย (Server) รวมทั้ง Code ของซอฟต์แวร์ด้วย ทั้ง Application processing และ การจัดการข้อมูล
(Data management) ระบบนี้จะมีความสะดวกในการบริหารจัดการ เพราะสามารถทําได้จาก
ส่วนกลาง ตัวอย่างของระบบนี้เช่น การใช้ http://www.ในระบบอินเตอร์เน็ต เป็นต้น ข้อเสียของ
ระบบนี้คือเครื่องแม่ข่ายจะทํางานหนักมาก
Fat-client model: เป็นระบบที่ให้เครื่อง Client ทํางานเป็นส่วนใหญ่ ทั้งการแสดงผล
(Presentation) และการประมวลผลการทํางาน (Application processing) ส่วนเครื่องแม่ข่าย
(server) ทําหน้าที่ data management คือจัดเก็บ และ ค้นหาข้อมูลเท่านัน ซอฟต์แวร์ หรือ code จะ
ถูกติดตั้งที่เครือง client ซึ่งจะเป็นการกระจายการประมวลผล ไปทั้งที่เครื่อง client และเครื่อง
server แต่จะหนักไปที่ client จึงเรียกว่า fat-client ข้อดีของระบบนี้คือเครื่อง แม่ข่ายไม่จําเป็นต้อง
มีขนาดใหญ่มาก แต่เครื่อง client จะต้องมีประสิทธิภาพที่ดี เพราะจะต้องทําการประมวลผลที่
เครื่อง client ข้อเสียคือการบริหารจัดการค่อนข้างยาก เพราะจะต่องติดตั้งซอฟต์แวร์ทั้งที่เครื่อง
แม่ข่าย และเครื่องลูกข่ายทั้งหมด
สรุป
สถาปัตยกรรมการกระจายการประมวลผล ทําให้สามารถขยายระบบไปได้โดยไม่จากัด
และถ้าใช้ควบคู่กับการกระจาย Object ด้วยแล้วจะทําให้ผู้พฒนาสามารถจะดําเนินการผลิต
ซอฟต์แวร์ได้อย่างรวดเร็ว เพราะไม่ต้องไปเริ่มต้นทํางานใหม่ทกครั้ง ทั้งการใช้ Object ที่มีอยู่
แล้ว หรือการใช้ Object ร่วมกับผู้ผลิตรายอื่น โดยผ่านระบบเครือข่าย การทํางานในลักษณะ
ดังกล่าวจําเป็นต้องมีมาตรฐานเพื่อให้ระบบต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันได้อย่างสมบูรณ์ ใน
ปัจจุบันมี 2 มาตรฐานที่นิยมใช้คือ CORBA และ DCOM ซึ่ง CORBA สนับสนุนระบบเปิด เช่น
UNIX และ ภาษา C++ และ Java โดยอาศัยภาษา IDL ซึ่งจะบอกวิธีการเชื่อมต่อและแปลงข้อมูล
ให้แต่ละวัตถุสามารถเชื่อมโยงกันได้ เมือมีวัตถุจํานวนมากในระบบจําเป็นต้องใช้ ORB ในการ
บริหารจัดการ Object ในเครือข่ายเดียวกัน และ ORB สามารถเชื่อมโยงกันเองได้เมื่อร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น